Tuesday, October 16, 2012

ตำนานพุทธชัยมงคลคาถา


ตำนานพุทธชัยมงคลคาถา




พุทธชัยมงคลคาถา เป็นบทสวดมนต์ที่ชาวพุทธนิยมนำมาใช้ในการสวดมนต์ภาวนา โดยมีความเชื่อกันว่าหากได้สวดชัยมงคลคาถานี้แล้ว อุปสรรคอันตรายจะหมดสิ้นไป และความสำเร็จ ความสวัสดีมีชัยในด้านต่างๆ จะบังเกิดขึ้นแก่ชีวิต
เหตุที่มีความเชื่อดังกล่าวนี้ เนื่องจากในบทสวดพุทธชัยมงคลคาถานี้ กล่าวถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า ต่อบุคคลผู้เป็นอริศัตรูและผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๘ ครั้ง คือ ชัยชนะต่อพระยามาร อาฬวกยักษ์ ช้างนาฬาคีรี นางจิญจมาณวิกา จอมโจรองคุลีมาล สัจจกนิครนถ์ นันโทปนันทนาคราช และท้าวพกาพรหม
หรือเป็นชัยชนะ ๘ ประการ คือ ชนะศัตรูหมู่มาก ชนะใจคนกระด้างกระเดื่อง ชนะสัตว์ดุร้าย ชนะโจรภัย ชนะการกลั่นแกล้งใส่ร้าย ชนะในการโต้เถียง ชนะเล่ห์เหลี่ยม และชนะคนมีมิจฉาทิฏฐิ
พุทธชัยมงคลคาถานี้แพร่หลายในหลายประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และศรีลังกา ชื่อเต็มของบทสวดมนต์นี้ คือ ชยมังคลอัฏฐกคาถา (อ่านว่า ชะยะมังคะละอัตถะกะคาถา) แต่ส่วนใหญ่จะเรียกกันสั้นๆ ตามคำขึ้นต้นว่า คาถาพาหุง
ประวัติความเป็นมาของพุทธชัยมงคลคาถาค่อนข้างสับสน บางท่านก็ว่าน่าจะแต่งโดยพระลังกาในราว พ.ศ. ๙๐๐ บางท่านก็ว่าน่าจะแต่งโดยพระพม่าเมื่อครั้งพม่ามีอิทธิพลเหนือล้านนาไทย แต่บางท่านก็ว่าน่าจะแต่งขึ้นใหม่สมัยพระนเรศวรทรงรบชนะพระมหาอุปราชา
ไม่ว่าบทสวดมนต์นี้จะมีที่มาอย่างไร พุทธชัยมงคลคาถาก็เป็นหนึ่งบทสวดมนต์ที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมกันมากใน ประเทศไทย เชื่อกันว่าหากใครได้สวดพุทธชัยมงคลคาถานี้เป็นประจำ ชัยชนะและความสวัสดีมีชัยก็จะบังเกิดแก่ผู้สวดตลอดไป  









บทสวดมนต์ " คาถาบูชาดวงชะตาประจำวันเกิด "

คาถาบูชาดวงชะตาประจำวันเกิด

        หลังจากสวดคาบูชาเสริมดวงชะตาแล้ว ขอให้ทุกคนสวดคาถาบูชาดวงชะตาประจำวันเกิดตัวเองให้ครบสามจบ ซึ่งแบ่ง คาถาออกตามวันได้ดังนี้

คาถาสวดเสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ 

        อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ สวดถึงสามจบ ชัดเจน สั้นๆ

คาถาสวดเสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์ 


        อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา

คาถาสวดเสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร 

        ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง 

คาถาสวดเสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันพุธกลางวัน 

        ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท

คาถาสวดเสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน

        คะ พุท ปัน ทู ธีม วะ คะ

คาถาสวดเสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี

        ภุ สัม สัม วิ สะ เท ภะ

คาถาสวดเสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์ 

        วา โธ โน อะ มะ มะ วา

คาถาสวดเสริมดวงชะตาสำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์

        โส มาณ กะ ริ ถา โธ 

         เมื่อสวดครบแล้วขอให้ทุกคนตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่ ด้วยแรงศรัทธาของจิตและคาถานี้จะทำให้คุณประสบความสำเร็จเป็นมงคลของชีวิต ตลอดทั้งปี หลังจากนั้นให้ตรงไปที่บรรจุหรือวิมารสถานที่มีพระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกอง ซึ่งเป็นดินแดนที่ศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นสถานของรุกขเทพที่คอยปกปักรักษาทุกทิศ จะได้รักษาดวงชะตาให้มีหลักชัยของชีวิตด้วย นอกจากนั้นอย่าลืมเติมน้ำมันตะเกียง ทำบุญใส่กล่องบริจาคและปล่อยนกตามกำลังศรัทธาหรือตามอัตภาพของตัวเอง

บทสวดมนต์ " คาถาบูชาดวงชะตา "


คาถาบูชาดวงชะตา



นะโม เม สัพพะเทวานัง 

สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง

สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ

สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง

วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ

ชีโว สุกะโร จะ มะหาลาภัง

โสโร ราหูเกตุ จะ มะหาลาภัง

สัพพะ ภะยัง วินาสสันติ

สัพพะทุกขัง วินาสสันติ

สัพพะโรคัง วินาสสันติ

ลักขะณา อะหัง วันทามิ สัพพะทา 

สัพเพเทวา มัง ปาละยันตุ สัพพะทา

เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมฯ

บทสวดมนต์ " คาถาชินบัญชร "

คาถาชินบัญชร



ตั้งนะโม ๓ จบ
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะ ราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.

๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.

๕. ทักขิเณสะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.

๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเนนัจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ.

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

๑๑. ขันทะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

๑๒. ชินาณา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชณัตตุปัททะวา.

๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

๑๔. ชินะปัญชะระมัชณัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล
สะทา ปาเลน ตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

บทสวดมนต์ " ปลงสังขาร "


ปลงสังขาร



                                 มนุษย์เราเอย     เกิดมาทำไม     นิพพานมีสุข

อยู่ใยมิไป     ตัณหาหน่วงหนัก     หน่วงชักหน่วงไว้

ฉันไปมิได้     ตัณหาผูกพัน     ห่วงนั้นพันผูก

ห่วงลูกห่วงหลาน     ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร     จงสละเสียเถิด

จะได้ไปนิพพาน     ข้ามพ้นภพสาม     ยามหนุ่มสาวน้อย

หน้าตาแช่มช้อย     งามแล้วทุกประการ     แก่เฒ่าหนังยาน

แต่ล้วนเครื่องเหม็น     เอ็นใหญ่เก้าร้อย     เอ็นน้อยเก้าพัน

มันมาทำเข็ญใจ     ให้ร้อนให้เย็น     เมื่อยขบทั้งตัว

ขนคิ้วก็ขาว     นัยน์ตาก็มัว     เส้นผมบนหัว

ดำแล้วกลับหงอก     หน้าตาเว้าวอก     ดูหน้าบัดสี

จะลุกก็โอย     จะนั่งก็โอย     เหมือนดอกไม้โรย

ไม่มีเกสร     จะเข้าที่นอน     พึงสอนภาวนา

พระอนิจจัง     พระอนัตตา     เราท่านเกิดมา

รังแต่จะตาย     ผู้ดีเข็ญใจ     ก็ตายเหมือนกัน

เงินทองทั้งนั้น     มิติดตัวเรา     ตายไปเป็นผี

ลูกเมียผัวรัก     เขาชักหน้าหนี     เขาเหม็นซากผี

เปื่อยเน่าพุพอง     หมู่ญาติพี่น้อง     เขาหามเอาไป

เขาวางลงไว้     เขานั่งร้องไห้     แล้วกลับคืนมา

อยู่แต่ผู้เดียว     ป่าไม้ชายเขียว     เหลียวไม่เห็นใคร

เห็นแต่ฝูงแร้ง     เห็นแต่ฝูงกา     เห็นแต่ฝูงหมา

ยื้อแย่งกันกิน     ดูน่าสมเพช     กระดูกกูเอ๋ย

เรี่ยรายแผ่นดิน     แร้งกาหมากิน     เอาเป็นอาหาร

เที่ยงคืนสงัด     ตื่นขึ้นมินาน     ไม่เห็นลูกหลาน

พี่น้องเผ่าพันธุ์     เห็นแต่นกเค้า     จับเจ่าเรียงกัน

เห็นแต่นกแสก     ร้องแรกแหกขวัญ     เห็นแต่ฝูงผี

ร้องไห้หากัน     มนุษย์เราเอ๋ย     อย่าหลงกันเลย

ไม่มีแก่นสาร     อุตส่าห์ทำบุญ     ค้ำจุนเอาไว้

จะได้ไปสวรรค์     จะได้ทันพระเจ้า     จะได้เข้าพระนิพพาน

อะหัง  วันทามิ  สัพพะโส  อะหัง  วันทามิ  นิพพานะปัจจะโย  โหตุ ฯ

บทสวดมนต์ "ชุมนุมเทวดา "

ชุมนุมเทวดา



สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง, ปะริตตังนุภาโว สะทา รักขะตูติ,

ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา, อะวิกขิตตะ จิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน,

ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ วัตถุมหิ เขตเต,

ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา,

ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะ จะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

บทสวดมนต์ " พระโพธิบาท "

พระโพธิบาท



บูระพารัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง

บูระพารัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์

สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-

ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

..........อาคะเนยรัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง

อาคะเนยรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์

สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-

ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

..........ทักษิณรัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง

ทักษิณรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์

สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-

ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

..........หรดีรัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง

หรดีรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์

สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-

ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

..........ปัจจิมรัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง

ปัจจิมรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์

สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-

ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

..........พายัพรัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง

พายัพรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์

สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-

ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

..........อุดรรัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง

อุดรรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์

สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-

ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

..........อิสานรัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง

อิสานรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์

สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-

ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

บทสวดมนต์ " มงคลจักรวาล 8 ทิศ "

มงคลจักรวาล 8 ทิศ



อิมัส์มิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพง

แก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบ รอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมานา

เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะชาละปะริก-

เขตเด รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

อิมัส์มิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพง

แก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบ รอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมานา

เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริก-

เขตเด รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

อิมัส์มิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพง

แก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบ รอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมานา

เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ปัจเจกะพุทธะชาละปะริก-

เขตเด รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

อิมัส์มิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพง

แก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบ รอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมานา

เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ สังฆะชาละปะริก-

เขตเด รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

บทชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิ***ขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร พระพุทธเจ้าชนะมาร บทสวดมนต์ออนไลน์ บทสวดมนต์ คาถาพาหุงมหากา  | geranun.comคาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร พระพุทธเจ้าชนะมาร บทสวดมนต์ออนไลน์ บทสวดมนต์ คาถาพาหุงมหากา  | geranun.com
บทชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) (แปล)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (สามครั้ง)
ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นสะระณะ
ข้าพเจ้าขอถือเอา พระธรรมเจ้าเป็นสะระณะ
ข้าพเจ้าขอถือเอา พระสงฆเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอา พระธรรมเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอา พระสงฆเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอา พระธรรมเจ้าเป็นสะระณะ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอา พระสงฆเจ้าเป็นสะระณะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงแจกจ่ายธรรม เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และ จรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เสด็จไปดี (คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติเห็นชอบได้ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ควรเรียกมาดูได้ ควรนอบน้อมเข้าไปหา อันผู้รู้พึงรู้ได้ด้วยตนเอง
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติตรง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น จัดเป็นบุรุษสี่คู่ เป็นบุคคลแปด เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรรับทิกษิณา เป็นผู้ควรกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก หาสิ่งอื่นเปรียบมิได้
สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์ ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคิรีเมขล์ ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว ทรงชนะด้วยธรรมวิธีมีทานบารมี เป็นต้น และด้วยเดชะของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้โหดร้ายบ้าคลั่ง น่าสพึงกลัว ซึ่งต่อสู้กับพระองค์ ตลอดทั้งคืนรุนแรงยิ่งกว่าพญามาร จนละพยศร้ายได้สิ้น ด้วยขันติธรรมวิธีอันพระองค์ได้ฝึกไว้ดีแล้ว และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญาช้าง ชื่อ นาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมันจัด ทารุณโหดร้ายยิ่งนัก ดุจไฟป่าจักราวุธและสายฟ้า ด้วยพระเมตตาธรรม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะมหาโจร ชื่อ องคุลีมาล ในมือถือดาบเงื้อง่าโหดร้ายทารุณยิ่ง วิ่งไล่ตามพระองค์ห่างออกไปเรื่อย ๆ เป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ ด้วยทรงบันดาลมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะคำกล่าวใส่ร้ายท่ามกลางชุมชน ของนางจิญจมาณวิกา ผู้ผูกท่อนไม้ซ่อนไว้ที่ท้องแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ ด้วยความจริง ด้วยความสงบเยือกเย็นด้วยวิธีสมาธิอันงาม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้เชิดชูลัทธิของตนว่าจริงแท้อย่างเลิศลอย ราวกับชูธงขึ้นฟ้า ผู้มุ่งโต้วาทะกับพระองค์ ด้วยพระปัญญาอันเป็นเลิศดุจประทีปอันโชติช่วง ด้วยเทศนาญาณวิถี และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้หลงผิดและมีฤทธิ์มาก ด้วยทรงแนะนำวิธี และ อิทธิฤทธิ์แก่พระโมคคัลลานะ พระเถระภุชงค์ พุทธบุตร ให้ไปปราบจนเชื่อง และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพรหม ชื่อ ท้าวพูกะ ผู้รัดรึงทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดไว้แนบแน่น โดยสำคัญผิดว่าตนบริสุทธิ์มีฤทธิ์รุ่งโรจน์ด้วยวิธีวางยาอันวิเศษ คือ เทศนาญาณ และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
แม้นรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ ทุกวัน ย่อมเป็นเหตุให้พ้นอุปัทวอันตรายทั้งปวง นรชนผู้มีปัญญาย่อมถึงซึ่งความสุขสูงสุดแล สิวโมกข์นฤพานอันเป็นเอกันตบรมสุข
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ ***ขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
คำแปล “พาหุงมหากา” หรือ “พุทธชัยมงคลคาถา” มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ
บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร
นอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น
ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้องทำความเข้าใจคำอธิบายบทต่างๆ
ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจ
เราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน
ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้
จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
คำแปล- พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมา
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร
พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือคู่ต่อสู้
คำแปล- อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามาร
เข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี
เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
คำแปล- ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๔ . เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า
ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่
องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่ง
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย
คำแปล- โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ
ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้
จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ
คำแปล- นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ
คำแปล- สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธงเป็นผู้มืดมัวเมา
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ
ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
คำแปล- องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ
นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน
คำแปล- พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

อัญเชิญพระพุทธคุณมาปกให้ท่านได้เอาไปสวดภาวนาคุ้มตนคุ้มภัย
ขอให้สวดด้วยใจแน่วแน่จะเห็นผลครับ

ที่มาของ บทสวดอิติปิโส โดยพี่ดวงเฮง


ธชัคคสูตรพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถาวรรค
ธชัคคสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยอานุภาพแห่งการระลึกถึง พระรัตนตรัย ที่พระพุทธองค์ทรงนำเอาเรื่องการทำสงครามระหว่างเทพกับเทพอสูรมาเป็นข้อ เปรียบเทียบ เพื่อเตือนใจภิกษุผู้ไปทำความเพียร อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรอันเงียบสงัด ห่างไกลจากผู้คนสัญจรไปมา
การ อยู่ท่ามกลางป่ากว้างดงลึกของภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนเช่นนั้น ย่อมจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวขนผองสยองเกล้า เมื่อเกิดความรู้สึก หวาดกลัว พระพุทธองค์แนะนำให้ภิกษุระลึกถึงธง คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ หรือพระสังฆคุณ แล้วจะสามารถข่มใจระงับความหวาดกลัวบำเพ็ญเพียร ต่อไปได้


การสวดธชัคคสูตรก็เพื่อเป็นการทำลายความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปอยู่ต่างถิ่น หรือในสถานที่ที่ไม่ คุ้นเคย โดยน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยมาสร้างเสริมกำลังใจให้เกิด ความอาจหาญแกล้วกล้าในการต่อสู่อันตรายและอุปสรรคนานาประการ
นอกจากนั้น ธชัคคสูตรยังช่วยคุมครองป้องกันอันตรายจากที่สูง หรืออันตรายทางอากาศ เช่น อันตรายจากการขึ้นต้นไม้สูง อันตรายจากการเดินทางที่ต้องผ่านหุบเขาเหวผาสูงชัน อันตรายจากสิ่งที่ตกหล่นมาจากอากาศ และในปัจจุบันยังนิยมใช้สวดเพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดจากการเดินทางโดย เครื่องบิน
โดยทั่วไปการสวดบทธชัคคสูตรไม่นิยมสวดทั้งสูตร แต่จะสวดเฉพาะบทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ซึ่งเป็นหัวใจของพระสูตรนี้ เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า “สวดอิติปิโส” เว้นไว้แต่มีเวลามากและต้องการสวดเป็นกรณีพิเศษจึงจะสวดทั้งสูตร

ธชัคคสูตร
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ
ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพะยุฬโห อะโหสิฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสะมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ ปะชาปะติสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ ฯ
ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุฉัมภี อุตะราสี ปะลายีติ ฯ
อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสะมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ – สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ 
มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ 
ธัม มัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะลายีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วัตะวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา
อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเร วะ ภิกขะโว
อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง สะรันตานังธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วาโลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ


คำแปล
ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ใน เวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า” ดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์ต่อไปว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องราวในอดีตกาลอันไกลโพ้นเคยมีมา แล้ว ได้เกิดสงครามระหว่างเหล่าเทวดากับเหล่าอสูรขึ้น ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทพ ตรัสเรียกเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าพวกเทวดาเข้าสู่สงครามแล้วเกิดความกลัว หวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ขอให้ท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเรา เพราะเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราแล้วความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าพวกท่านทั้งหลายแลดูยอดธงเราไม่ได้ ก็ขอให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี เพราะเมื่อท่านทั้งหลายมองดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีไม่ได้ ก็ให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราช ชื่อวรุณแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณไม่ได้ ก็ให้ แลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสานแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ภิกษุทั้งหลาย แท้จริงแล้ว เมื่อเหล่าเทวดาทั้งหลายแลดูยอดธงของท้าวสักกเทวราช แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ หรือแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่ บางทีก็หายได้ บางทีก็ไม่หาย เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าท้าวสักกเทวราชยังไม่สิ้นราคะ ยังไม่สิ้นโทสะ ยังไม่สิ้นโมหะ ยังกลัว ยังหวาดสะดุ้ง ยังต้องหนี
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราตถาคตกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเธอ ทั้งหลายไปอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ ตามบ้านร้าง หรือที่อื่นใดแล้วเกิด ความกลัว หวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ขอให้เธอทั้งหลายระลึกถึงเราตถาคตว่า
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มี พระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงเป็นครูของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ทรงมีความสามารถในการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงตถาคตอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าระลึกถึงตถาคตไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรม เป็น ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล สามารถ แนะนำผู้อื่นให้มาพิสูจน์ได้ว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมนำมาไว้ในตัว ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ฯ


ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าระลึกถึงพระธรรมไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติ ตรงแล้วปฏิบัติ เพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ ปฏิบัติเหมาะสม ได้แก่บุคคล เหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงลำดับได้ ๘ ท่าน นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาน้อมนำมาบูชา ควรแก่สักการะที่เขาเตรียมไว้ต้อนรับ ควรรับทักษิณาทาน เป็น ผู้ที่บุคคลทั่วไปควรให้ความเคารพ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ


 

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์แล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป ที่เป็นเช่นนี้เพราะตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ ไม่มีความกลัว ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หนี พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสพุทธพจน์นี้แล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายไปอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ หรือตามบ้านร้าง ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วพวกเธอก็จะไม่มี ความหวาดกลัว ถ้าพวกเธอทั้งหลายไม่สามารถระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในโลก ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน ก็ให้ระลึกถึงพระธรรม อันสามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์ ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด ถ้าพวกเธอไม่สามารถระลึกถึงพระธรรมที่สามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์อันเราแสดง ไว้ดีแล้ว ต่อจากนั้น ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าก็จักไม่มีแล ฯ


………………………………………
ขอขอบคุณที่มา http://board.palungjit.com/ และรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

คาถาพระอรหันต์…เลยนำมาบอกต่อ…

คาถาพระอรหันต์…เลยนำมาบอกต่อ…

http://ohonline.in.th/home/wp-content/uploads/2012/03/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.png


คำอาราธนาธรรม

 พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ, กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ, สันตีถะ สัตตาปปะระชัก ขะยาติกา, เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

 

หนังสือสวดมนต์

หนังสือสวดมนต์  PDF file



พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
เสียงทำวัตร - สวดมนต์แปล online
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
คำทำวัตรเช้า       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
คำแผ่เมตตา       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
ทวัตติงสาการปาฐะ (คาถาแสดงอาการ ๓๒ ในร่างกาย)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
อภิณหปัจจเวกขณปาฐะ       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
บทพิจารณาสังขาร (พิจารณาธรรมสังเวช)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
สัพพปัตติทานคาถา (คำแผ่ส่วนบุญให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
คำทำวัตรเย็น       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
สรณคมนปาฐะ (คาถาเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
เขมาเขมสรณทีปิกคาถา (คาถาแสดงสรณะอันเกษม และไม่เกษม)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
อริยธนคาถา (คาถาสรรเสริญพระอริยเจ้า)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
ติลักขณาทิคาถา (คาถาแสดงพระไตรลักษณ์เป็นเบื้องต้น)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
ภารสุตตคาถา (คาถาแสดงภารสูตร)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
ภัทเทกรัตตคาถา (คาถาแสดงผู้มีราตรีเดียวเจริญ)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
ธัมมคารวาทิคาถา (คาถาแสดงความเคารพพระธรรม)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
โอวาทปาฏิโมกขคาถา       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
ปฐมพุทธภาสิตคาถา (คาถาพุทธภาษิตครั้งแรกของพระพุทธเจ้า)       ุคลิก สวดมนต์    ุดาวน์โหลด
ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ (พระโอวาทครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด
อุททิสสนาธิฏฐานคาถา (คาถาอุทิศและอธิฐาน)       คลิก สวดมนต์    ดาวน์โหลด